โดย แพทย์หญิงพรรักษ์ ศรีพล จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านต้อหิน
ต้อเนื้อเป็นโรคที่พบบ่อยทางตา ของประเทศไทยเนื่องจากภูมิศาสตร์ตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรทำให้ได้รับแสงอาทิตย์สูง ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดต้อเนื้อ
ลักษณะจะเป็นความผิดปกติของเนื้อเยื่อบุตา ที่งอกเข้ามาที่กระจกตา มักจะเกิดเป็นรูปสามเหลี่ยม เกิดบริเวณหัวตาและหางตา อย่างไรก็แล้วแต่ ต้อเนื้อไม่ใช่เนื้อร้าย หรือมะเร็ง ดังนั้น สามารถรักษาให้หายขาดได้
ต้อเนื้อเป็นซ้ำ หมายถึง การที่ลอกต้อเนื้อไปแล้ว แล้วเกิดการงอกที่ผิดปกติขึ้นมาอีกมักจะเกิดในช่วง 3-12 เดือนหลังการลอก
ลักษณะของต้อเนื้อ แบ่งได้เป็น 4 เกรด ตามขนาดของการลอกเข้ามาที่กระจกตาดังนี้
เกรด1 = งอกเข้ามาที่กระจกตาประมาณ 1 มม.
เกรด2 = งอกเข้ามาที่กระจกตาประมาณ 2-3 มม.
เกรด3 = งอกเข้ามาที่กระจกตาประมาณ 3-4 มม.
เกรด4= งอกเข้ามาที่กระจกตาประมาณ > 4 มม. บังที่รูม่านตา
ปัจจัยเสี่ยงของต้อเนื้อ
ปัจจัยเสี่ยงของต้อเนื้อครั้งแรก
ถูกแสง UV มากกว่า 5ชม.ต่อวัน
อายุที่มากขึ้น
เพศชายมักเป็นมากกว่าเพศหญิง
Genetic factor
ถูกฝุ่นหรือลม
ตาแห้งหรืออักเสบเรื้อรัง
ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ของเคสที่ผ่าต้อเนื้อไปแล้ว แล้วทำให้กลับเป็นซ้ำ
เกิดการอักเสบหลังผ่าตัด
อายุน้อยกว่า 40 ปี
เทคนิคการผ่าตัด
ลักษณะต้อเนื้อ ที่แดงและหนาตัว
คนผิวดำ
อาการของต้อเนื้อ
ไม่มีอาการ
เห็นเป็นเนื้อแดง ที่หัวตาหรือหางตา
ตาแดงง่าย
เคือง คัน แสบตา
ภาพไม่ชัด จากสายตาเอียงหรือ ต้อเนื้อบังรูม่านตา
การรักษา
- รักษาแบบไม่ผ่าตัด
การหยอดยาตามอาการ
ใส่แว่นกันแดด กันลม
ทำความสะอาดเปลือกตา
ป้องการตาแห้ง โดยปรับพฤติกรรมและหยอดน้ำตาเทียม
-รักษาแบบผ่าตัด หรือการลอกต้อเนื้อ
วิธีการลอกต้อเนื้อในปัจจุบันมี 2เทคนิค
ลอกแบบไม่วางกราฟ ไม่เป็นที่นิยมมากนักเนื่องจากอาจจะทำให้การกลับเป็นซ้ำสูง
ลอกแบบวางกราฟ ได้แก่
ใช้เนื้อเยื่อบุตาตัวเอง
ใช้เนื้อเยื่อรก
เทคนิคเสริมป้องกันการเป็นซ้ำ
ฉีดสาร MMC ร่วมในการผ่าตัด
ฉีดสาร 5 FU หลังผ่าตัด
ฉีดสาร Anti VEGF หลังผ่าตัด
ใช้กาวชีวภาพ
ขั้นตอนการผ่าตัด
- ฉีดยาขาและหยอดยาชา
- ตัดเนื้อเยื่อที่ผิดปกติออกจนหมด
- วางสาร MMC กรณีที่ต้องวาง
- วางกราฟด้วยเนื้อเยื่อรกหรือ เนื้อเยื่อบุตาตัวเอง
- เย็บกราฟ หรือ ใช้กาวชีวภาพ
- ตรวจเช็คแผลและปิดตาแน่น
สำหรับข้อบ่งชี้ของการผ่าตัด
บังการมองเห็น
สายตาเอียงมาก ตามัว
อักเสบเป็นๆหายๆ รักษาด้วยยาไม่หาย
เสียความมั่นใจ รบกวนชีวติ
คำแนะนำสำหรับผ่าลอกตัดต้อเนื้อ
ข้อปฏิบัติตัว ก่อน ผ่าลอกตัดต้อเนื้อ
1.ฝึกนอนคลุมผ้าปิดหน้า 30 นาทีก่อนนอน
2. ฝึกการกลอกตา ซ้าย-ขวา บน-ล่าง และค้างไว้
3. การผ่าตัดจะใช้ยาชาหยอดและฉีดใต้เยื่อบุตา ไม่มีการดมยาสลบ
4. การลอกต้อเนื้อจะใช้เวลาผ่าตัด 15- 40 นาทีแฃ้วแต่ชนิดของการผ่าตัด
5. หยุดยาละลายลิ่มเลือดก่อนผ่าตัด 7 วัน (ต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง)
6. อาบน้ำล้างหน้าสระผมมาในเช้าวันที่ผ่าตัด
7. สวมเสื้อผ้าสบายๆใส่เสื้อติดกระดุมหน้า
8. รับประทานอาหารย่อยง่ายก่อนมาผ่าตัด
9. ให้ทำความสะอาดเปลือกตาด้วยผลิตภัณฑ์ ocusoft ก่อนผ่าตัด และหยอดน้ำตาเทียมก่อนผ่าตัด
ข้อปฏิบัติตัว หลัง ผ่าลอกตัดต้อเนื้อ
1.ปิดตาแน่น 2 วัน เปิดตาเองที่บ้าน
2.กรณีใส่คอนแทคเลนส์ แพทย์จะนัดมาถอด 2 วันหลังผ่าตัด
3.หยอดยาได้หลังเปิดตา ยกเว้นกรณีใส่คอนแทคเลนส์ ให้หยอดยาได้เลย
4.ใน 2 วันแรกจะมีอาการปวดตามาก เป็นเรื่องปกติ ให้ทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง
5. กรณีลอกแบบทำกราฟ และเย็บ จะนัดมาตัดไหม 10-14 วันหลังผ่าตัด
6.ห้ามน้ำเข้าตา 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะตัดไหม
7.งดใส่คอนแทคเลนส์ จนกว่าจะตัดไหม
8.อาการตาแดงหลังผ่าตัดจะค่อยๆจางลง และอาจมีเคืองเล็กน้อยได้ถ้ามีการเย็บ
9. สวมแว่นตาที่มีสารเคลือบ UV เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำเสมอ
10. ทำความสะอาดเปลือกตาทุกวัน วันละครั้งและหยอดน้ำตาเทียมแบบไม่มีสารกันบูดเป็นประจำ
11. ทำงาน ทำกิจวัตรประจำวันและใช้สายตาได้ตามปกติ
12. มาตามนัดทุกครั้งในช่วง 6 เดือนแรกเนื่องจากแพทย์จะพิจารณาฉีดยาลดการกลับเป็นซ้ำ
คำแนะนำนี้เป็นคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดกับพญ.พรรักษ์ ศรีพล ซึ่งเป็นไปตามมาตราฐานการรักษาและประสบการณ์ อาจจะแตกต่างกันไปในลายละเอียดของแพทย์แต่ละคน
งานวิจัยในเกี่ยวกับการกลับเป็นซ้ำของต้อเนื้อ
มี 4 ประเด็นที่ยังเป็นที่ถกเถียงและได้ข้อสรุป
ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นซ้ำหลังลอกไปแล้วมีอะไรบ้าง
การกลับเป็นซ้ำจะเกิดเมื่อไหร่
วิธีการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
การรักษาต้อเนื้อเป็นซ้ำ
ประเด็นที่ 1 ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นซ้ำหลังลอกไปแล้วมีอะไรบ้าง แบ่งเป็น 2 ข้อ จากระดับเซลล์และจากความเสี่ยงทางคลินิก
ระดับเซลล์ หรือ Gene สรุปว่า Gene ที่พบไม่เหมือนกับการเกิดครั้งแรกเลยทีเดียวจะแตกต่างกัน และมีการพูดถึงเชื้อไวรัสต่างๆอาจจะทำให้เกิดเป็นซ้ำ เช่น HSV,EBV, CMV,HPV
ความเสี่ยงทางคลินิก :
เพศไม่มีผลต่อการเกิดการเป็นซ้ำ
อายุน้อยกว่า 40 ปี พบว่าเป็นซ้ำถึง 3.5 เท่า อธิบายจากการที่คนที่อายุน้อยจะมีการกระตุ้นการหายของแผลที่ค่อนข้างเร็ว จะทำให้เส้นเลือดงอกมา collagen เกิดขึ้น ทำให้สุดท้ายเกิดการอักเสบและเป้นซ้ำ
ก่อนผ่าตัดผิวตาอักเสบมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีภาวะตาแห้งและ MGD
ขนาดต้อเนื้อและเทคนิคการผ่าตัด พบว่า ขนาดที่ใหญ่ว่า ยังเป็นที่สรุปไม่ได้ ว่าทำให้เป็นซ้ำเร็ว แต่ก็มีบางงานวิจัย บอกว่าขนาดใหญ่ อาจจะเป็นซ้ำ
เทคนิคการผ่าตัดครั้งแรกสำคัญ เช่น มีการร่นของกราฟ, มีการตัดเยื่อออกน้อยเกินไป, ใช้ไหมบางชนิด เนื้อบุตาตัวเองก่อนผ่าตัดพบว่าเป็นซ้ำน้อยที่สุด
ประเด็นที่ 2 การกลับเป็นซ้ำจะเกิดเมื่อไหร่
งานวิจัยแต่ล่ะงานวิจัยไม่ได้ติดตามคนไข้ไปมากเท่าไหร่ แต่โดยสรุปส่วนใหญ่ที่มีการพบคือ 3 -12 เดือน เพราะฉะนั้นประเด็นสำคัญคือต้องติดตามการรักษาหรือมาตามนัด ภายใน 12 เดือนหลังผ่า
ประเด็นที่ 3 วิธีการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
สำหรับคนที่เพิ่งผ่าใหม่ๆ ต้องปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดในการลดความเสี่ยงต่างๆ ไม่ให้เจอกับปัจจัยที่อาจทำให้ต้อเนื้องอกออกมา และป้องกันการอักเสบของตา ดังนี้
ป้องกันแดด ลมฝุ่น โดยการใส่แว่นป้องกัน UV 100 ,ใส่หมวก หรือแว่นกันลม ถ้าจำเป็นต้องไปในสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม
ทำความสะอาดเปลือกตาเพื่อจัดการกับเชื้อ Demodex โรคตาแห้ง MGD
หยอดน้ำตาเทียมแบบไม่มีสารกันบูดสม่ำเสมอ ไม่ให้ตาแห้ง พร้อมปรับ พฤติกรรม
เทคนิคเสริมที่กันกลับเป็นซ้ำที่งานวิจัย พบว่าได้ผลดี ได้แก่ การวางสาร MMC ไมโต้ไมซินซี, การใช้กาวชีวภาพ เป็นต้น สำหรับข้อนี้ต้องอยู่ในคำแนะนำของแพทย์ผู้ผ่าตัด
ช่วงหลังผ่า 4-6 สัปดาห์สำคัญมาก ต้องคุมการอักเสบโดยการใช้ยาหยอด Steroid ซึ่งต้องไปพบแพทย์เพื่อเชคความดันตาเสมอ
ประเด็นที่ 4 การรักษาต้อเนื้อเป็นซ้ำ
ไม่ผ่าตัด จะมีการฉีดยาลดเส้นเลือดเช่น 5 FU, Anti VEGF
การผ่าตัด มักจะนิยมใช้เนื้อเยื่อบุตาตัวเองเป็นกราฟ พบว่า กลับเป็นซ้ำน้อยที่สุด
บทสรุป
สำหรับคนที่เป็นตัวเนื้อให้นำ 4 ข้อนี้เป็นข้อคิด
อายุน้อยกว่า 40 ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ แนะนำยังไม่ควรลอก
ประเมินความเสี่ยงของตัวเองและเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสม
ดูแลหลังผ่าสำคัฐมาก สิ่งที่ต้องทำตลอดไปคือ ป้องกันแดด ลมฝุ่น ทำความสะอาดเปลือกตา หยอดน้ำตาเทียมแบบไม่มีสารกันบูดสม่ำเสมอ
มาตามนัดอย่างน้อย 1 ปี
ภาพตัวอย่างก่อนและหลังการผ่าตัดต้อเนื้อ
อ้างอิง Reference
Article : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti…
สำหรับใครอยากฟัง ขี้เกียจอ่าน
ปรึกษาผ่าตัดกับแพทย์หญิงพรรักษ์ ศรีพล
คำถามยอดฮิต เกี่ยวกับต้อเนื้อ พร้อมคำตอบ
Disclaimer:
ข้อมูลที่ให้มาในเนื้อหานี้เป็นเพียงวัตถุประสงค์ทั่วไปเท่านั้น และไม่ควรถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ มันไม่สร้างความสัมพันธ์แพทย์/ผู้ป่วยและไม่ควรนำมาใช้ในการตัดสินใจทางการแพทย์ ผู้ใช้จะต้องขอคำปรึกษาทางการแพทย์จากแพทย์มืออาชีพสำหรับสภาวะทางการแพทย์เฉพาะและไม่ควรละเว้นหรือล่าช้าในการได้รับคำแนะนำดังกล่าว ผู้เขียนและผู้จัดพิมพ์เนื้อหานี้ไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ให้ไว้ ใช้เนื้อหานี้ด้วยความเสี่ยงและดุษณีตามดุลยพินิจของผู้ใช้เอง
พญ.พรรักษ์ ศรีพล (หมอเจ็น) Social & Website
Comentários